วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Power Supply

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทุกชิ้นจะไร้ค่าทันที ถ้าหากไม่มีกระแสไฟฟ้า พาวเวอร์ซัพพลายจะทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้า ให้กับชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ หากเครื่องคอมพิวเตอร์คุณมีอุปกรณ์ต่อพ่วงเยอะ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เช่น 450 วัตต์ เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ

ส่วนประกอบภายนอกที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ส่วนประกอบภายนอกที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

พริ้นเตอร์ (Printer) จัดเป็นอุปกรณ์เอาท์พุท (Input Unit) ทำหน้าที่ พิมพ์ไฟล์ข้อมูลออกมาที่กระดาษ

สแกนเนอร์ (Scaner) จัดเป็นอุปกรณ์อินพุท (Input Unit) ทำหน้าที่ ถ่ายภาพจากกระดาษเข้าไปเก็บเป็นไฟล์เอกสารในคอมพิวเตอร์

โปรเจ็คเตอร์ (Projector) จัดเป็นอุปกรณ์เสริมด้านเอาท์พุท โดยทำหน้าที่ฉายภาพจากมอนิเตอร์ไปยังจอภาพขนาดใหญ่

กล้องดิจิตอล (Digital Camera) จัดเป็นอุปกรณ์อินพุท (Input Unit) ทำหน้าที่นำไฟล์ภาพ หรือถ่ายภาพเพื่อนำไปเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์

เมนบอร์ด

เมนบอร์ด (Mainboard) หมายถึง แผงวงจรหลัก ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากมาย แต่ส่วนที่สำคัญคือ

  • ชิปเซ็ต(Chipset) คอยทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์
  • บัส (Bus) ที่เป็นเส้นทางเดินของข้อมูล
  • สล็อต(Slot) เป็นช่องที่ใช้เสียบการ์ดต่าง ๆ
  • ซ็อคเก็ต (Socket) เป็นช่องที่ใช้ติดตั้งซีพียู
  • ฯ ล ฯ

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Mouse

Mouse

Mouse เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลอย่างหนึ่งแต่ที่เห็นการทำงานโดยทั่วไปจะเป็นตัวที่ใช้ควบคุมลูกศรให้เคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างๆ บนจอภาพ เหมาะสำหรับใช้งานเมื่อต้องเลือก หรือเลื่อนวัตถุต่างๆ บนจอ Mouse ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้ 2 แบบ ได้แก่ 9 Pin, Serial Port และ PS/2 (Personal System Version2)

Mouse แบ่งได้เป็นสองแบบคือ
1.แบบทางกล2.แบบใช้แสง

1. แบบทางกล
เป็นแบบที่ใช้ลูกกลิ้งกลม ที่มีน้ำหนักและแรงเสียดทานพอดี เมื่อเลื่อน Mouse ไปในทิศทางใดจะทำให้ลูกกลิ้งเคลื่อนไปมาในทิศทางนั้น ลูกกลิ้งจะทำให้กลไกซึ่งทำหน้าที่ปรับแกนหมุนในแกน X และแกน Y แล้วส่งผลไปเลื่อนตำแหน่งตัวชี้บนจอภาพ Mouse แบบทางกลนี้มีโครงสร้างที่ออกแบบได้ง่าย มีรูปร่างพอเหมาะมือ ส่วนลูกกลิ้งจะต้องออกแบบให้กลิ้งได้ง่ายและไม่ลื่นไถล สามารถควบคุมความเร็วได้อย่างต่อเนื่องสัมพันธ์ระหว่างทางเดินของMouseและจอภาพ


Ball Mouse
มีชนิดที่เป็น Ball อยู่ในแนวตั้งและแนวนอน Mouse แบบ Ball การใช้งานต้องเลื่อน Mouse ยังแกนต่างๆบนหน้าจอเพื่อเลือก หรือยกเลิกโปรแกรมที่ทำงานอยู่ ต่อมาได้พัฒนา Mouse ให้มี wheel เพื่อให้สะดวกในการใช้งานกับ Windows ตั้งแต่เวอร์ชัน 95 เป็นต้นมา ซึ่งช่วยในการเลื่อนหน้าต่าง Window ได้ง่ายขึ้นโดยไม่ต้องเลื่อน Mouse เพียงแต่ใช้นิ้วขยับไปที่ wheel ขึ้นลงเท่านั้น
Wireless Mouse
เป็น Mouse ที่มีการทำงานเหมือน Mouse ทั่วไปเพียงแต่ไม่มีการใช้สายไฟต่อออกมาจากตัว Mouse ซึ่ง Mouse ชนิดนี้จะมีตัวรับและตัวส่งสัญญาณซึ่งทางด้านตัวรับสัญญาณอาจจะเป็นหัวต่อแบบ PS/2 หรือ แบบ USB ที่เรียกว่า Thumb USB receiver ซึ่งใช้ความถี่วิทยุอยู่ที่ 27MHz
Mouse สำหรับ Macintosh
เป็น Mouse ที่ใช้เฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ Macintosh ซึ่งเป็น Mouse ที่ไม่มี wheel และปุ่มคลิ๊ก ก็ มีเพียงปุ่มเดียวแต่สามารถใช้งานได้ครอบคลุมทุกหน้าที่การทำงาน ซึ่งทางบริษัท Apple ออกแบบมาเพื่อใช้กับเครื่อง Macintosh เท่านั้น
2. Mouse แบบใช้แสง
อาศัยหลักการส่งแสงจาก Mouse ลงไปบนแผ่นรอง Mouse (mouse pad)

Optical Mouse
เป็น Mouse ชนิดใช้แสงซึ่งปัจจุบัน บริษัทผู้ผลิต Mouse ชนิดนี้ได้เพิ่มให้มีความสวยงามต่างๆกันไป เช่น ใส่แสงให้กับ wheel หรือไม่ก็ออกแบบให้มีแสงสว่างทั้งตัว Mouse แต่หน้าที่การทำงานก็ไม่เปลี่ยนแปลงไปจาก Ball Mouse

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ความรู้เบื่องต้นเกี่ยวกับ จอภาพ

จอภาพ หรือ วีดียู [1] (อังกฤษ: visual display unit: VDU) หรือชื่ออื่นเช่น จอคอมพิวเตอร์ จอคอม จอมอนิเตอร์ มอนิเตอร์ จอแสดงผล จอภาพแสดงผล จอภาพแสดงผลคอมพิวเตอร์ จอทีวี จอโทรทัศน์ ฯลฯ คือส่วนหนึ่งของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่แสดงรูปภาพให้เห็นจากอุปกรณ์ที่สามารถส่งออกวิดีโอ เช่นคอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ ซึ่งรูปภาพที่ปรากฏสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้และไม่คงอยู่อย่างถาวร จอภาพประกอบด้วยส่วนอุปกรณ์ที่แสดงผลให้เห็น และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในที่สร้างรูปภาพจากสัญญาณวิดีโอ อุปกรณ์ที่แสดงผลยุคใหม่จะเป็นจอภาพผลึกเหลวทรานซิสเตอร์แผ่นบาง (thin film transistor liquid crystal display: TFT-LCD) และจอภาพยุคก่อนเป็นหลอดภาพรังสีแคโทด (cathode ray tube: CRT)

เพาเวอร์ซัพพลาย Power Supply

อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรามักจะมองข้ามไปและเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ
เพราะถ้าขาดเจ้าตัวนี้แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวเก่งของเราก็เปรียบเสมือนกล่องเหล็กธรรมดาๆ
ใช้การอะไรไม่ได้ อุปกรณ์ชิ้นนี้ก็คือ แหล่งจ่ายไฟ หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า เพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)นั่นเอง

เพาเวอร์ซัพพลายมีหน้าที่หลักก็คือ เปลี่ยนแรงดันกระแสสลับจากไฟบ้าน 220โวลท์เอซี
ี ให้เป็นแรงดันไฟตรงดีซีที่คอมพิวเตอร์ต้องใช้

แหล่งจ่ายไฟคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหรือคอมพิวเตอร์พีซีนั้น ส่วนใหญ่จะบรรจุในเคสด้านหลัง
ถ้ามองไปที่หลังเคสจะเห็นก่องเหล็กสี่เหลี่ยมมีช่องเสียบสายไฟและพัดลมเพื่อระบายความร้อน

เพาเวอร์ซัพพลายจะใช้เทคโนโลยีที่เราเรียกว่า สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย
คือการเปลี่ยนแรงดันอินพุตกระแสสลับเอซี ให้เป็นแรงดันตํ่ากระแสตรง
แรงดันที่ออกแบบให้ออกมาจากเพาเวอร์ซัพพลายมีอยู่ทั่วไป 3ระดับคือ
3.3โวลท์ , 5โวลท์ และ 12โวลท์ โดยที่แรงดัน3.3โวลท์และแรงดัน5โวลท์
จะนำไปใช้ในวงจรดิจิตอล ส่วนแรงดัน12โวลท์ถูกนำไปใช้ในการหมุน
มอเตอร์ของดิสท์ไดรฟ์และพัดลมระบายความร้อน

เมื่อหลายปีก่อนบางท่านที่เคยใช้คอมพิวเตอร์ยุคแรกๆตั้งแต่รุ่น 8088
จนถึงรุ่น 486 คงจะจำได้ว่าสวิตช์เปิดปิดของคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าพวกนี้
จะแตกต่างจากสวิตช์ปิดเปิดคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ด้วยเหตุว่า
คอมพิวเตอร์รุ่นแรกๆนั้น จะใช้เพาเวอร์ซัพพลายแบบ AT ซึ่งมีสวิตช
์เพื่อควบคุมการปิดเปิดเพาเวอร์ซัพพลายโดยตรง และใช้สวิตช์กด
ติดค้างคล้ายๆกับสวิตช์เปิดปิดไฟบ้าน ซึ่งต่างจากคอมพิวเตอร์
ในปัจจุบันจะใช้สวิตช์แบบกดติดปล่อยดับ สวิตช์นี้จะไม่ต่อเข้ากับ
เพาเวอร์ซัพพลายโดยตรงแต่จะต่อกับแผงวงจรเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์
โดยใช้การควบคุมการปิดเปิดจากโปรแกรมปฎิบัติงาน สั่งให้แผงเมนบอร์ด
ปิดเพาเวอร์ซํพพลาย เมื่อเรากดสวิตช์นี้ เมนบอร์ดจะส่งแรงดัน 5โวลท์ไป
ยังส่วนควบคุมในเพาเวอร์ํซัพพลายเพื่อเปิดปิดการทำงานของตัวมัน
แรงดันไฟตรงนี้เราเรียกว่าแรงดัน VSB เพาเวอร์ซัพพลายรุ่นใหม่นี้เราเรียกแบบว่า แบบ ATX

ถ้าพูดถึงเทคโนโลยีสวิตชิ่งในเพาเวอร์ซัพพลายจะเห็นได้ว่ามี
การพัฒนามาตั้งแต่ปี คศ.1980 ในตอนนั้นเพาเวอร์ซัพพลายมีขนาดใหญ่และนํ้าหนักมากที่เป็นเช่นนั้น
เพราะว่าในตัวเพาเวอร์ซํพพลายต้องใช้หม้อแปลงและตัวเก็บประจุ
ที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งในปัจจุบันได้พัฒนาลดขนาดและนํ้าหนักของเพาเวอร์ซัพพลายลงได้มาก

เทคโนโลยีสวิตชิ่งไม่ใช่แค่นำไปใช้แต่คอมพิวเตอร์เท่านั้น
แต่ยังได้นำไปใช้ในการสร้างไฟกระแสสลับจากไฟตรง12โวลท์ของ
แบตเตอรี่รถยนต์เพื่อไปจ่ายให้เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่นทีวี วิดีโอ
ดังจะเห็นได้จากรถตู้หรือรถทัวร์เค้าใช้กัน วงจรพวกนี้เราเรียกว่า อินเวอร์เตอร์

เพาเวอร์ซํพพลายที่มีขายตามท้องตลาดนั้นมีหลายราคา หลายกำลังวัตต์ให้เลือก
ตั้งแต่200วัตต์ จนถึง 400วัตต์ขึ้นอยู่กับว่าคอมพิวเตอร์เราใช้ทรัพยากร
หรือว่ามีอุปกรณ์ต่อมากน้อยเพียงใด

อุปกรณ์ในคอมพิวเตอร์ กำลังวัตต์ที่อุปกรณ์ใช้

หน่วยประมวลผล CPU 15 - 45 วัตต์
Mainboard 20 - 30 วัตต์
Hard disk 5 - 15 วัตต์
CD-ROM drive 10 - 25 วัตต์
หน่วยความจำ RAM 5 - 11 วัตต์
Floppy disk drive 5 วัตต์
การ์แสดงผล AGP 20 - 30 วัตต์
การ์ด PCI เช่นการ์ดเสียง 5 วัตต์
การ์ด SCSI 20 - 25 วัตต์
การ์ด LAN 4 วัตต์
พัดลมระบายความร้อน 2 - 4 วัตต์

จะเห็นได้ว่ากำลังไฟทั้งหมดถ้ารวมๆกันแล้วก็ไม่เกิน 250วัตต์ จึงพอเพียงสำหรับ
เพาเวอร์ซํพพลายที่มีขายในปัจจุบัน

ปัญหาที่เราพบบ่อยๆกับเจ้าตัวเพาเวอร์ซํพพลายก็คือความร้อนที่เกิดจากตัวมันเอง
โดยทั่วไปเพาเวอร์ซัพพลายจะมีพัดลมช่วยระบายความร้อน แต่ถ้าพัดลมนั้นเกิดเสื่อมสภาพ
หมุนช้าลงหรือหยุดหมุนไป อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในเพาเวอร์ซัพพลายก็
จะร้อนขึ้นจนอาจจะไหม้ได้ หลังจากนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะหยุดทำงานพร้อม
กับมีกลิ่นไหม้ตามมา ฉะนั้นถ้าเป็นไปได้ก็ควรสำรวจพัดลมหรือฟังเสียง
พัดลมของเพาเวอร์ซัพพลาย ถ้าพัดลมหมุนช้าหรือหยุดหมุนไปก็ให้ปิด
เครื่องทันที ถ้ามีฝีมือหน่อยก็ถอดฝาออกมาแล้วก็ซื้อพัดลมขนาดเดียวกัน
มาเปลี่ยนแทน หรือถ้าไม่อยากยุ่งยากก็ซื้อใหม่ทั้งชุดเลย ปัจจุบันราคาของ
เพาเวอร์ซัพพลายไม่แพงมากนัก อยู่ระหว่างประมาณ 350 ถึง 500บาท
ขึ้นอยู่กับกำลังวัตต์ที่ใช้และรูปแบบของเพาเวอร์ซัพพลาย เวลาเปลี่ยนก็ควร
ปลดสายไฟออกทั้งหมดก่อนเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะตามมา

ด้วยเหตุนี้ผู้ผลิตเมนบอร์ดจึงได้สร้างเมนบอร์ที่สามารถอ่านค่าความเร็วของ
พัดลมทุกตัวในคอมพิวเตอร์ รวมทั้งพัดลมของเพาเวอร์ซํพพลายด้วย
โดยเมื่อพัดลมหมุนช้าลง หน่วยควบคุมในเมนบอร์ดก็จะส่งสัญญาณผ่าน
โปรแกรมมอนิเตอร์เตือนผู้ใช้ที่หน้าจอ ก่อนที่จะดับเครื่องตัวเอง
เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะตามมา


ขนาดจอภาพ
เพาเวอร์ซัพพลาย: ATX 2.0 400W
เพาเวอร์ซัพพลาย สำหรับคอมพิวเตอร์ระดับ Intel Pentium4 ที่ใช้อุปกรณ์เพิ่มเติมจากมาตรฐาน เช่นการเพิ่มเติม ฮาร์ดดิสก์, ดีวีดีรอม, การ์ดวีจีเอประสิทธิภาพสูง เพื่อใช้ในงานดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม ตกแต่งภาพ เป็นต้น
เพาเวอร์ซัพพลาย

คุณสมบัติ

  • เพาเวอร์ซัพพลาย ขนาด 400W
  • มาตรฐาน ATX 12V 2.0
  • ประสิทธิภาพสูงสุด
  • เสียงรบกวนต่ำ
  • ปิดเปิด แบบรีโมทได้
  • ควบคุมความเร็วพัดลมได้
  • ระบบป้องกันการลัดวงจร (SCP - Short Circuit Protection)
  • ระบบป้องกันแรงดันไฟเกิน (OVP - Over Voltage Protection
  • ระบบป้องกันกระแสไฟเกิน (OCP - Over current protection)
  • Active PFC (Full-range) ตามมาตรฐาน EN61000-3-2
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม...
เพาเวอร์ซัพพลาย: ATX 2.0 300W
เพาเวอร์ซัพพลาย สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้อุปกรณ์มาตรฐาน สำหรับงานในสำนักงาน หรือคอมพิวเตอร์ราคาประหยัด
เพาเวอร์ซัพพลาย

คุณสมบัติ

  • เพาเวอร์ซัพพลาย ขนาด 300W
  • combined power output ของ +5V & +3.3V รวมกันสูงสุด 120W
  • combined power output ของ +5V, +3.3V, +12V1 & +12V2 รวมกันสูงสุด 290W
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม...
เพาเวอร์ซัพพลาย: ATX 2.0 350W
เพาเวอร์ซัพพลาย สำหรับคอมพิวเตอร์ระดับ Intel Pentium4 ที่ใช้อุปกรณ์มาตรฐาน สำหรับงานในสำนักงาน หรือคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเพื่อการดูหนัง ฟังเพลง
เพาเวอร์ซัพพลาย
คุณสมบัติ
  • เพาเวอร์ซัพพลาย ขนาด 350W
  • combined power output ของ +5V & +3.3V รวมกันสูงสุด 130W
  • combined power output ของ +5V, +3.3V, +12V1 & +12V2 รวมกันสูงสุด 340W
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม...
เพาเวอร์ซัพพลาย: Power Gold 500W
เพาเวอร์ซัพพลาย สำหรับนักเล่นเกมที่ต้องการความมั่นใจว่า เพาเวอร์ซัพพลาย จะสามารถรองรับอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยไม่มีการสะดุด โดยสนับสนุนเทคโนโลยี SLi Multi-GPU ของ Nvidia และยังสามารถสนับสนุน EPS 12V เพื่อใช้เป็น เพาเวอร์ซัพพลาย ของ เซอร์เวอร์ ได้ด้วย
เพาเวอร์ซัพพลาย
คุณสมบัติ
  • เพาเวอร์ซัพพลาย ขนาด 500W
  • เคสโลหะนิเกิลเงา
  • พัดลม ball-bearing พร้อมไป LED สีฟ้า
  • Active PFC
  • พัดลมระบายความร้อนอัจฉริยะ
  • ต่อ SATA ได้ 4 ตัว
  • หัว 6 pin ต่อ PCI-E VGA Card
  • สนับสนุนมาตรฐาน ATX 12V v2.0/Intel EPS 12V v2.1 และ AMD-GES
  • สาย +12V อิสระ 3 สาย
  • หัวต่อเมนบอร์ด 24 pin
  • สนับสนุนเทคโนโลยี SLi Multi-GPU
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม...
เพาเวอร์ซัพพลาย: Intelligent Power 450W
เพาเวอร์ซัพพลาย 450 วัตต์รุ่นนี้ เหมาะสำหรับผู้ใช้งานทั่วไปที่ต้องการ เพาเวอร์ซัพพลาย ที่มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับการทำงานหนักได้อย่างไม่มีปัญหา ขณะเดียวกันก็เหมาะสำหรับนักเล่นเกม ที่ต้องการประหยัดงบประมาณ และยังคงได้ประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับ เพาเวอร์ซัพพลาย รุ่นใหญ่
เพาเวอร์ซัพพลาย
คุณสมบัติ
  • เพาเวอร์ซัพพลาย ขนาด 450W
  • 230V Active PFC
  • มาตรฐาน Intel ATX 12V V 2.0 และ Intel EPS 12V V2.1
  • สนับสนุน Intel LGA775 Prescott Pentium 4 และ AMD Athlon 64
  • สาย +12V1, +12V2 ( 2 ชุด)
  • สนับสนุนมาตรฐาน BTX
  • หัวต่อเมนบอร์ด 24pin
  • เสียงเงียบ
  • ความร้อนต่ำ ด้วยเทคโนโลยีการควบคุมพัดลม แบบ intelligent-thermal
  • สาย +12V ให้กระแสไฟที่มากกว่า เพื่อรองรับการขยายฮาร์ดแวร์
  • ระบบป้องกัน OVP (Over Voltage Protection) และ OCP (Over Current Protection) แยกอิสระ

ขนาดของจอภาพจะวัดจากมุมหนึ่งของจอ ไปยังอีกมุมหนึ่งในแนวทแยงที่อยู่ตรงข้ามกัน แต่ปัญหาหนึ่งของการวัดแบบนี้คือไม่สามารถแยกแยะได้ว่าจอภาพจะมีอัตราส่วนลักษณะ (aspect ratio) เท่าใด แม้ว่าจะมีขนาดทแยงมุมเท่ากัน เนื่องด้วยข้อเท็จจริงที่ว่ารูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าจะมีพื้นที่น้อยกว่ารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเมื่อกำหนดให้เส้นทแยงมุมยาวเท่ากัน ตัวอย่างเช่น จอภาพ 21 นิ้วในอัตราส่วน 4:3 มีพื้นที่ประมาณ 211 ตารางนิ้ว ในขณะที่จอภาพไวด์สกรีน 21 นิ้วในอัตราส่วน 16:9 จะมีพื้นที่แสดงผลเพียง 188 ตารางนิ้วเท่านั้น

การวัดด้วยวิธีนี้มาจากโทรทัศน์แบบหลอดภาพชนิดเริ่มแรก เนื่องจากหลอดภาพในสมัยนั้นเป็นรูปวงกลมโดยปกติ เมื่อเอ่ยถึงขนาดของหลอดภาพก็เพียงวัดขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางของรูปวงกลม และเมื่อหลอดภาพวงกลมต้องแสดงภาพเป็นรูปสี่เหลี่ยม การวัดระยะเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมก็เทียบเท่ากับการวัดเส้นผ่านศูนย์กลางของหลอดภาพเพื่อให้ภาพเต็มจอพอดี วิธีการนี้ก็ยังใช้กันเรื่อยมาแม้ว่าหลอดภาพจะเปลี่ยนรูปร่างไปเป็นรูปสี่เหลี่ยมโค้งมนแทน

อีกปัญหาหนึ่งคือการวัดขนาดหน่วยแสดงผลของจอภาพโดยตรง ซึ่งเป็นขนาดเพื่อการโฆษณาสินค้าและพบเห็นได้ทั่วไป โดยเฉพาะกับหลอดภาพรังสีแคโทด จะมีหน่วยแสดงผลส่วนหนึ่งซึ่งถูกบดบังตามขอบจอเพื่อซ่อนส่วนที่อยู่นอกพื้นที่ปลอดภัย เรียกว่าโอเวอร์สแกน (overscan) ดังนั้นขนาดที่ได้เห็นจริงจึงมีพื้นที่น้อยว่าขนาดที่โฆษณาอยู่เล็กน้อย ลูกค้าที่ซื้อไปใช้รู้สึกว่าถูกหลอกจึงมีการร้องเรียนอย่างกว้างขวาง และหลายคดีก็ตัดสินว่าให้ผู้ผลิตจอภาพต้องวัดขนาดพื้นที่ที่แสดงผลได้จริง แทนที่จะวัดจากขนาดของหลอดภาพ

เทคโนโลยีการฉายภาพ

จอคอมพิวเตอร์แบบหลอดภาพ 19 นิ้วของวิวโซนิก (หลอดภาพขนาด 48.3 ซม. มองเห็นได้ 45.9 ซม.) ดูคล้ายโทรทัศน์

เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันหลายอย่าง มีขึ้นเพื่อใช้ส่งออกภาพวิดีโอที่สร้างจากคอมพิวเตอร์และโทรทัศน์

การวัดประสิทธิภาพ

การวัดระดับพิกเซล บนจอภาพที่จัดเรียงพิกเซลต่างกัน

ประสิทธิภาพของจอภาพสามารถวัดได้จากหลายปัจจัยดังนี้

  • ความส่องสว่าง วัดในหน่วยแคนเดลาต่อตารางเมตร
  • ขนาดของจอภาพ วัดความยาวตามแนวทแยง สำหรับหลอดภาพ บริเวณที่เห็นภาพมักจะเล็กกว่าขนาดของหลอดภาพอยู่หนึ่งนิ้ว
  • อัตราส่วนลักษณะ คืออัตราส่วนของพิกเซลในแนวนอนต่อแนวตั้ง อัตราส่วนปกติคือ 4:3 เช่นจอภาพที่กว้าง 1024 พิกเซล จะสูง 768 พิกเซล ถ้าเป็นจอภาพไวด์สกรีน จะมีอัตราส่วนเป็น 16:9 ดังนั้นจอภาพที่กว้าง 1024 พิกเซล จะสูง 576 พิกเซล
  • ความละเอียดจอภาพ คือจำนวนพิกเซลตามความกว้างและความสูงที่สามารถแสดงผลได้ (ไม่ได้หมายถึงพิกเซลที่กำลังแสดงผลภาพอยู่ในปัจจุบัน) ความละเอียดที่มากที่สุดถูกจำกัดโดยระดับพิกเซล (ดูถัดไป)
  • ระดับพิกเซล คือระยะระหว่างพิกเซลสีเดียวกันในหน่วยมิลลิเมตร หากระดับพิกเซลน้อยลง ภาพจะมีความคมชัดมากขึ้น
  • อัตรารีเฟรช คือจำนวนครั้งในหนึ่งวินาทีที่ภาพนั้นถูกฉายลงบนหน้าจอ อัตรารีเฟรชที่มากที่สุดถูกจำกัดโดยเวลาตอบสนอง (ดูถัดไป)
  • เวลาตอบสนอง คือเวลาที่ใช้ไปขณะพิกเซลเปลี่ยนจากสีดำไปเป็นสีขาว และกลับมาเป็นสีดำอีกครั้ง วัดในหน่วยมิลลิวินาที ค่าที่น้อยลงหมายความว่าจอสามารถเปลี่ยนภาพได้เร็วขึ้น และหลงเหลือภาพก่อนหน้าน้อยกว่า
  • อัตราส่วนความแตกต่าง คืออัตราส่วนความส่องสว่างของสีที่สว่างที่สุด (สีขาว) ต่อสีที่มืดที่สุด (สีดำ) ที่จอภาพนั้นสามารถสร้างได้
  • การใช้พลังงาน วัดในหน่วยวัตต์
  • มุมในการมอง คือมุมที่มากที่สุดที่หันเหหน้าจอออกไปแล้วยังสามารถมองเห็นได้ โดยภาพที่ปรากฏยังไม่ลดคุณภาพ เช่นสีเพี้ยนเป็นต้น วัดในหน่วยองศาตามแนวดิ่งและแนวราบ

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ความรู้เกี่ยวกับ คีร์บอร์ด


คีย์บอร์ด
เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะรับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น
การวางตำแหน่งแป้นอักขระ จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต กล่าวคือ เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์
เมื่อนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานพิมพ์ภาษาไทยจึงต้องมีการดัดแปลงแผงแป้นอักขระให้สามารถใช้งานได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย กลุ่มแป้นที่ใช้พิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยจะเป็นกลุ่มแป้นเดียวกับภาษาอังกฤษ แต่จะใช้แป้นพิเศษแป้นหนึ่งทำหน้าที่สลับเปลี่ยนการพิมพ์ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษภายใต้การควบคุมของซอฟต์แวร์อีกชั้นหนึ่ง
แผงแป้นอักขระสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็มที่ผลิตออามารุ่นแรก ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 จะเป็นแป้นรวมทั้งหมด 83 แป้น ซึ่งเรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอ็กซ์ที ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 บริษัทไอบีเอ็มได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระ กำหนดสัญญาณทางไฟฟ้าของแป้นขึ้นใหม่ จัดตำแหน่งและขนาดแป้นให้เหมาะสมดียิ่งขึ้น โดยมีจำนวนแป้นรวม 84 แป้น เรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอที และในเวลาต่อมาก็ได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระขึ้นพร้อม ๆ กับการออกเครื่องรุ่น PS/2 โดยใช้สัญญาณทางไฟฟ้า เช่นเดียวกับแผงแป้นอักขระรุ่นเอทีเดิม และเพิ่มจำนวนแป้นอีก 17 แป้น รวมเป็น 101 แป้น
การเลือกซื้อแผงแป้นอักขระควรพิจารณารุ่นใหม่ที่เป็นมาตรฐานและสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่
สำหรับเครื่องขนาดกระเป๋าหิ้วไม่ว่าจะเป็นแล็ปท็อปหรือโน้ตบุ๊ค ขนาดของแผงแป้นอักขระยังไม่มีการกำหนดมาตรฐาน เพราะผู้ผลิตต้องการพัฒนาให้เครื่องมีขนาดเล็กลงโดยลดจำนวนแป้นลง แล้วใช้แป้นหลายแป้นพร้อมกันเพื่อทำงานได้เหมือนแป้นเดียว

วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)

ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยฮาร์ดดิสค์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งอินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน
- IDE (Integrated Drive Electronics)
เป็นระบบของ ฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟสที่ใช้กันมากในปัจจุบันนี้ การต่อไดร์ฟฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะต่อผ่านสายแพรและคอนเน็คเตอร์จำนวน 40 ขาที่มีอยู่บนเมนบอร์ด ส่วนใหญ่แล้วใน 1 คอนเน็คเตอร์ จะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัวและบนเมนบอร์ด
- SCSI (Small Computer System Interface)
เป็นอินเตอร์เฟสที่แตกต่างจากอินเตอร์เฟสแบบอื่น ๆ มาก โดยจะอาศัย Controller Card ที่มี Processor อยู่ในตัวเองทำให้เป็นส่วนเพิ่มขยายกับแผงวงจรใหม่โดยจะสนับสนุนการต่ออุปกรณ์ได้ถึง 8 ตัว แต่การ์ดบางรุ่นอาจจะได้ถึง 14 ตัวทีเดียว โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้งานในรูปแบบ Server เพราะมีราคาแพงแต่มีความเร็วในการส่งข้อมูล
- Serial ATA (Advanced Technology Attachment)
เป็นอินเตอร์เฟสแบบใหม่ เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 26 มิถุนายน 2545 งาน PC Expo ใน New York มีความเร็วในเข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที และให้ผลตอบสนองในการทำงานได้เร็วมากในส่วนของ extreme application เช่น Game Home Video และ Home Network Hub โดยเป็นอินเตอร์เฟสที่จะมาแทนที่ของ IDE ในปัจจุบัน